ปัจจัยที่มีผล



ปัจจัยพื้นฐานในการจัดมวลประสบการณ์ในหลักสูตรในการจัดมวลประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนนั้นผู้กำหนดหลักสูตร หรือนักพัฒนาหลักสูตรได้อาศัยปัจจัยทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ปรัชญา และจิตวิทยา มาเป็นตัวบ่งชี้จุดมุ่งหมายในหลักสูตร และจุดมุ่งหมายนี้เองก็กลับมาเป็นเกณฑ์ในการจัดมวลประสบการณ์ให้ผู้เรียน ดังนั้น หลักสูตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปตามความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. ปัจจัยทางด้านสังคม
หลักสูตรเกี่ยวกับสังคม เพราะ โดยปกติสังคมเป็นตัวกำหนดเป้าหมายการศึกษาด้วยสังคม คาดหวังว่า
1.1 การศึกษาจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้สังคม ทั้งที่เป็นปัญหาร่วม อย่างปัญหาการคมนาคม ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สิน และชีวิตหรือปัญหาย่อยเฉพาะของแต่ละสังคม เช่น สังคมเมืองอาจประสบปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การจราจร ขณะที่สังคมชนบทมีปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัย เป็นต้น การกำหนดทิศทางของการศึกษาจึงเพื่อแก้ปัญหาใหญ่อันเป็นปัญหาร่วมของสังคม และยืดหยุ่นให้สังคมย่อยนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมนั้นๆ
1.2 การศึกษาจะช่วยให้คนในสังคมสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ การจัดจึงต้องมีการเตรียมบุคคลให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมในอนาคตด้วย
1.3การศึกษาจะช่วยให้คนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม จึงต้องปลูกฝังค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม และความสำนึกที่ดีให้แก้ผู้เรียน

2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
การวามแผนทางการศึกษา จำเป็นต้องพิจารณาจึงโครงสร้างและแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เพราะภาวะเศรษฐกิจมีผลต่อการศึกษาของประชาชนอยู่มาก กล่าวคือ
ประการแรกเศรษฐกิจเป็นทุนของการศึกษา ผู้ที่มีฐานะท่งเศรษฐกิจดีจะมีโอกาสได้รับการศึกษาสูง ผู้ที่ยากจนจะไม่มีโอกาสที่จะศึกษาได้
ประการทีสองเศรษฐกิจต้องการกำลังคนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การศึกษาจะช่วยพัฒนาคนเพื่อไปเป็นกำลังแรงงานที่มีความสามารถทางเศรษฐกิจ
เป้าหมายทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเศรษฐกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน จึงสรุปได้ดังนี้
2.1 เนื่องจาประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม การศึกษาจึงควรมุ่งพัฒนาเกษตรกรรม เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี
2.2 เศรษฐกิจของสังคมไทยควรได้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น การศึกษาจะสอนให้รู้จักวิธีดารใช้และเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรกล ให้ความรู้เรื่องการใช้แรงงานตามสภาพความเหมาะสมในท้องถิ่น
2.3 การจัดการศึกษาต้องพยายามสร้างทักษะอย่างแท้จริงในทุกวิชา และมุ่งปรับปรุงการเกษตรให้มีคุณภาพ และให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 การศึกษาจะต้องฝึกฝนให้คนรู้จักทำงานร่วมกัน รู้จักจัดซื้อ และการจัดจำหน่าย รวมทั้งการลงทุนที่ประหยัดแต่ให้ผลคุ้มค่าสูงสุด

3. ปัจจัยทางด้านปรัชญา
ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ได้สรุปไว้ดังนี้
3.1 เนื้อหาสาระของการศึกษา ปรัชญา มีส่วนช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้ได้แนวทางการจัดการศึกษาที่ดีที่สุด เพื่อชีวิตและสังคมปัจจุบันและอนาคต
3.2ด้านวิทยาการ ปรัชญามีส่วนช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความโดยใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา เกี่ยวกับคำและแนวคิด หลักการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจนในความคิดซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

4. ปัจจัยทางด้านการเมืองการปกครอง
การจัดการศึกษากับการเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กันมาโดยตลอด รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษา ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้สำนึกและมีความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและตนเอง มีความคิดและความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมพลานามัย ระเบียบวินัย มีความรัก และธำรงศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย หวงแหนแผ่นดินเกิด ตลอดจนมีความซาบซึ้งและสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยจะเร่งดำเนินการดังนี้
1.จะจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภททั้งในและนอกระบบโรงเรียนให้ประสานสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2.จะปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเทศให้มีเอกภาพประสานสัมพันธ์กัน ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติจะสนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานใช้ทัพยากรรวมกัน เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด
3.จะจัดและส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกระดับเป็นศูนย์บริการด้านการศึกษาวิชาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา พลานามัย นันทนาการและข่าวสาร
4.จะเร่งปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาทุกระดับ โดยปรับปรุงระบบการวางแผนการบริหาร การเรียนการสอน การกำหนดมาตรฐานและวิทยฐานะ ระบบการติดตามประเมินผล ตลอดจนการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันทุกระดับและคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ
5.จะสงเสริมการพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนและเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดจนสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ
6.จะเร่งฝึกและอบรมในด้านระเบียบวินัย คุณธรรมความรู้จักรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง ความรักในศิลปวัฒนธรรมละความสำนึกความเป็นไทยร่วมกัน เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ เอกราช อธิปไตยของชาติ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นจะส่งเสริมให้สถาบันศาสนาได้เข้ามามีบทบาทในการอบรมสั่งสอนด้านคุณธรรมให้มากขึ้น
7.จะส่งเสริมให้ผู้สอนในทุกระดับการศึกษาละทุกประเภทได้รับการยกย่องเชิดชู มีความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ
8.จะสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย เผยแพร่การวิจัย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้วิจัย ส่งเสริมให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ เพื่อสนองความต้องการของชุมชนและความก้าวหน้าทางวิชาการ
9.จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการขยายการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพ และจะปรับปรุงวิธีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความเสมอภาคทางการศึกษา โดยเน้นการให้โอกาสแก่ผู้เรียน และกลุ่มชนที่มีโอกาสน้อย
10.จะสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาภายในขอบเขต และสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนั้นจะพยายามสนับสนุนให้สถานบันทางการเงินเข้าช่วยเหลือสถานศึกษาเอกชน และส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนให้ดีขึ้น
11.จะสนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนร่วม

จริยา จริยานุกูล. (2527). หลักสูตรและหนังสือเรียนมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครศรีธรรมราช: สำนักพิมพ์วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.