วิธีดำเนินการวิจัย

บรรยากาศการสัมภาษณ์...โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ on PhotoPeach



ภาพบรรยากาศภายในโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ on PhotoPeach





วิธีดำเนินการ
การศึกษาหลักสูตรของสถานศึกษาของแต่ละโรงเรียนเริ่มต้นขึ้นจากเจตนารมณ์ของอาจารย์ทั้งสามท่านที่ต้องการให้พวกเรานักศึกษาที่เรียนในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรได้ไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของแต่ละโรงเรียนจริงๆ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างการเรียนทฤษฎีในห้องเรียนกับการลงพื้นที่ไปศึกษาหลักสูตรของโรงเรียนแต่ละแห่ง และเปรียบเทียบว่าหลักสูตรที่แต่ละโรงเรียนมีความสอดคล้องกับทฤษฎีหรือตัวแม่บทของหลักสูตรมากน้อยแค่ไหน 
ขั้นตอนแรกในการดำเนินการ
เมื่อได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา อาจารย์ก็สอนเนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็น  ความหมาย  ประเภท  ความสำคัญ  องค์ประกอบ  ปัจจัยที่ส่งผลลต่อการพัฒนาหลักสูตร  ความเป็นมาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการไปสัมภาษณ์หลักสูตรสถานศึกษาของแต่ละกลุ่ม
ขั้นที่ 2 เลือกโรงเรียนที่จะไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
กลุ่มของดิฉันเลือกโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ  ซึ่งตั้งอยู่ที่ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเป็นโรงเรียนขยายโอกาส เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 อีกทั้งยังเป็นโรงเรียนที่สอบ 2 ระบบ ทั้งสามัญและอิสลามแบบเข้ม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น  จุดประสงที่กลุ่มของดิฉันเลือกที่จะไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ เพราะ ต้องการทราบว่า การเป็นโรงเรียนขยายโอกาส สอนทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาจะเป็นเช่นไร คล้ายหรือแตกต่างอย่างไร และ โรงเรียนบ้านเจาะเกาะเป็นโรงเรียนที่สอน2 ระบบ การจัดทำหลักสูตรและใช้หลักสูตรทำเช่นไร และมีอุปสรรคในการจัดทำบ้างไหม รวมไปถึง การนำหลักสูตรไปใช้มีวิธีการอย่างไร
ขั้นที่3 การติดต่อโรงเรียน
การติดต่อโรงเรียนเริ่มด้วยส่งตัวแทนกลุ่มเพื่อไปติดต่อสอบถามโรงเรียนบ้านเจาะเกาะว่าสะดวกไหมกับการเข้ามาศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา  เมื่อเข้าไปติดต่อ ปรากฏว่า โรงเรียนให้การต้อนรับและพร้อมให้กลุ่มของดิฉันเข้าไปศึกษา  เมื่อแน่ชัดแล้วว่า กลุ่มของเราจะศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ  จึงได้แจ้งอาจารย์ประจำวิชาเพื่อจัดทำหนังสือขออนุญาตเพื่อเข้าไปสัมภาษณ์สถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ
ขั้นตอนที่ 4 การเดินทางไปสัมภาษณ์
พวกเราเดินทางเพื่อไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ เนื่องจากโรงเรียนบ้านเจาะเกาะตั้งอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งอยู่ไกลมา จึงต้องเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่ เริ่มเดินทางเวลา 05.30 . ขึ้นรถโดยสารประจำทางที่ประตู 3 หลังมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อไปขึ้นรถไฟที่จะนะ ถึงจะนะเวลา 6.30 น. รถไฟขบวนที่พวกเราจะขึ้นคือ รถไฟดีเซลราง เวลา 07.15 น.  การเดินทางโดยรถไฟทำให้เราเห็นทัศนียภาพที่สวยงามในตอนเช้า สองข้างทางที่รถไฟเคลื่อนตัวผ่านรายรอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด หมอกบางเบา รวมถึงท้องฟ้าที่แจ่มใส เมื่อพวกเรารับรู้กลิ่นไอสัมผัสทำให้ชื่นใจอย่างบอกไม่ถูกและคิดว่าวันนี้เราคงได้พบเจอแต่สิ่งดีๆ
รถไฟเคลื่อนตัวเทียบชานชลาเจาะไอร้อง  ได้เวลาที่เราต้องลงแล้ว.....   โรงเรียนบ้านเจาะเกาะบริการรถมารับพวกเรา เนื่องจากจากสถานีรถไฟถึงโรงเรียนมีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เมื่อถึงโรงเรียนก็ได้รับการต้อนรับจากท่านผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ รวมไปถึงคณะครู  มีการถามถึงวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ รวมไปถึงเป้าหมายในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ที่ต้องการ หลักจาการพูดคุยผ่านไป ก็ถึงเวลาอาหารเที่ยง  ทางโรงเรียนก็มีการจัดเลี้ยงอาหารเที่ยงแก่คณะของเรา รวมไปถึงขนมหวาน สร้างความประทับใจแก่คณะเราเป็นอย่างมาก
การวางแผนในการสัมภาษณ์
เวลาที่เหลืออยู่หลังการรับประทางอาหารเที่ยง คณะของเราก็วางแผนและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้  นางสาวรุสลีนา  หะยีดิง ทำหล้าที่เป็นผู้สัมภาษณ์  นางสาวนัสรีย๊ะ อาบ๊ะ และนางสาวหม๊ะกลือซง  แป รังหน้าที่ผู้ผู้จดบันทึก ส่วนนางสาวนลิตา  ยะมะกาและนางสาวซานูรี  มะดีเยาะห์รับหน้าที่เป็นผู้บันทึกภาพการสัมภาษณ์
เวลาประมาณบ่ายโมง   ก่อนการสัมภาษณ์จะเริ่มต้นขึ้น ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้สามท่าน คือ นางวิณา   สามัญ นางอานีซะ เปาะอาแซ และนายซูกิฟลี แวยูโซะ  ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาให้พวกเราฟังก่อน เพื่อทำให้เราได้รู้จักและเข้าใจหลักสูตรของโรงเรียนมากขึ้นและยังทำให้การสัมภาษณ์ดำเนินไปอย่างราบรื่นมากขึ้น
การสัมภาษณ์
 การสัมภาษณ์เริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง คำถามที่ถามเป็นไปตามที่อาจารย์ต้องการเริ่มต้นด้วยคำถามข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน จนถึงข้อคิดดีๆที่อาจารย์มอบให้นักศึกษาครูในการพัฒนาหลักสูตรในอานาคตข้างหน้า  (อ่านรายละเอียดได้จากหน้าเว็บ ผลการศึกษาค้นคว้า)อาจารย์ให้ความร่วมมือกับคณะของพวกเราเป็นอย่างดี และสามารถทำให้คณะของพวกเราเข้าใจการจัดทำรวมถึงกระบวนการต่างๆตั้งแต่การเริ่มจนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ การประเมินผลหลักสูตร
การสำรวจรอบๆโรงเรียน
หลังจากการสัมภาษณ์เสร็จสิ้น คณะของเราก็ได้เดินเที่ยวชมโรงเรียน โรงเรียนบ้านเจาะเกาะเป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่จัดการเรียนการสอนพร้อมกับให้นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติ เช่น  โครงการดำเนินตามรอยพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คือ ภายในโรงเรียนจะมีแปลงเกษตร ซึ่งเป็นแปลงที่นักเรียนได้ฝึกปลูก ฝึกดูแล ตลอดจนผลิตผลที่ได้จากการทำเกษตร อาทิ ผักบุ้ง  ผักคะน้า หรือถั่วผักยาวก็จำนำมาเป็นอาหารกลางวันของนักเรียนทั้งโรงเรียน
โรงเรียนบ้านเจาะเกาะมีสวนอุทยานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเสมือนสวนสัตว์  อาทิ นกยูง กระต่าย นกพิราบ  และยังมีพรรณไม้นานาชนิด  ซึ่งสวนอุทยานการเรียนรู้แห่งนี้ก็เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน อีกทั้งยังเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ ให้เด็กๆได้นั่งเล่นเพื่อผ่อนคลายจากการเรียน
คณะของดิฉันได้เข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ซึ่งตอนที่เข้าไปนักเรียนกำลังฝึกระบายสีตัวการ์ตูนที่ตนเองชื่นชอบอย่างขะมักเขม้นและตั้งใจเป็นอย่างมาก เมื่อระบายสีเสร็จก็มาเล่นกิจกรรมนันทนาการ คือ ร้องเพลงและเต้นประกอบเพลง น้องเต้นได้น่ารัก สร้างความประทับใจแก่คณะเราเป็นอย่างมาก
กล่าวลาคุณครู
เมื่อการสัมภาษณ์จบสิ้น และได้เนื้อหาและข้อมูลเพียงพอ  คณะของเราก็กล่าวลาอาจารย์ อาจารย์ยังกล่าวอวยพรพวกเราและให้พวกเราไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีก
การถอดเทป
เมื่อได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบกับการอภิปรายรวมถึงการทำบล็อกเพื่อเผยแพร่ข้อมูล จึงต้องผ่านกระบวนการถอดเทป
ทำข้อมูลมาเผยแพร่
เมื่อถอดเทปแล้วก็นำข้อมูลเผยแพร่แก่บุคคลที่สนใจหรืออยากศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจาะเกาะได้เยี่ยมชม
วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ
โรงเรียนบ้านเจาะเกาะเป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่มีการจัดทำหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตร  ปัจจุบันโรงเรียนบ้านเจาะเกาะใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ พุทธศักราช 2553  ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานั้นจะยึกหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลัก แล้วนำมาปรับปรุงและหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ อีกทั้งโรงเรียนได้เพิ่มหลลักสูตรอิสลามแบบเข้ม เพื่อเข้ามาตอบสนองความต้องการและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นที่ส่วนใหญ่เป็นคนอิสลาม
สรุปและอภิปราย
เมื่อรวบรวมเนื้อหาทั้งหมด สมบูรณ์แล้ว ก็มาอภิปรายหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และยังเป็นการทำให้ทุกคนในห้องได้เห็นการจัดทำหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อนำมาเปรียบเทียบและทำให้เพื่อนได้เข้าใจกระบวนการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรของแต่ละโรงเรียนได้ดีมากขึ้น