ผลการวิจัย

 





 
strong>ประมวลภาพ (ลงพื้นที่) on PhotoPeach

ผู้ให้สัมภาษณ์ 1.คุณครูวิณา สามัญ 2.คุณครูอานีซะ เปาะอาแซ 3.คุณครูซุลกิฟลี แวยูโซะ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ , รองฝ่ายวิชาการ (สามัญ) ,รองฝ่ายวิชาการ (ศาสนา)
ผู้สัมภาษณ์ นางสาวรุสลีนา หะยีดิง
วันที่สัมภาษณ์ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.00 น.
สถานที่ โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ


1.รุสลีนา : ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
คุณครูวิณา : โรงเรียนบ้านเจาะเกาะตั้งอยู่หมู่ที่ 14 บ้านดารุลอินซาน ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส 96130 โทรศัพท์ 073544-4050 E-mail : choco@mailnara2.homeip.net สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 3 และมี 3 หมู่บ้านด้วยกัน คือ 1. บ้านเจาะเกาะ 2.บ้านบูกิต 3. บ้านดารุลอินซาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน สำหรับผู้บริหารโรงเรียนบ้านเจาะเกาะมี 2 ท่าน ท่านแรก นายอานูวา อาบ๊ะ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ ท่านที่สองนางวิณา สามัญ เป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ คุณครูมีทั้งหมด 19 คน พนักงานราชการ 5 คน วิทยากรศาสนา 6 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน นักการภารโรง 2 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน โรงเรียนได้เปิดการศึกษาเป็น 3 ระดับ ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสประกอบด้วย ระดับอนุบาล 1-2 ระดับประถมศึกษา 1-6 และระดับมัธยมศึกษา 1-3 รวมนักเรียนทั้งหมด 517 คน โรงเรียนได้เปิดสอนในลักษณะระบบอิสลามแบบเข้ม ทางโรงเรียนได้แบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่ ระบบสามัญและระบบอิสลามแบบเข้ม


2.รุสลีนา : ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของโรงเรียนมีอะไรบ้าง
คุณครูวิณา : ปรัชญาโรงเรียน ประพฤติดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา วิสัยทัศน์ ปี พ.ศ. 2554-2556 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะมุ่งจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม พัฒนาครูและบุคลากรสู่มืออาชีพ ก้าวทันเทคโนโลยีและยึดหลักธรรมชาติและยึดหลักธรรมาภิบาล จุดมุ่งหมายของโรงเรียนจะเน้นผู้เรียนให้ได้รับพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ มีความรู้ คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐาน


3.รุสลีนา:บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนเป็นอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรอย่างไร
คุณคูรวิณา : ในส่วนของชุมชนคนในชุมชนส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกร เพราะโรงเรียนบ้านเจาะเกาะตั้งอยู่ในหมู่ 1 4 แต่ครอบคลุมด้วย 3 หมู่บ้านด้วยกัน คือ หมู่ 1 หมู่ 2 และหมู่ 14 ในส่วนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรนั้น เกษตรกรมีการแปรรูป จากผลผลิตในหมู่บ้าน เช่น ส้มแขกแห้ง ทุเรียนกวน หมากแห้ง ตรงนี้เราได้เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ซึ่งจะอยู่ในหลักสูตรของท้องถิ่น


4.รุสลีนา: การพัฒนาหลักสูตรจากหลักสูตรแกนกลาง 51 สู่หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนของท่านมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอะไร อย่างไร แต่ละกระบวนการมีอุปสรรค์/ปัญหาอะไรและแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
คุณครูซุลกีฟลี แวยูโซ๊ะ : หลักสูตรแกนกลางกับหลักสูตรของสถานศึกษา การที่จะให้สอดคล้องกันนั้นเราดูจากหลักเกณฑ์จากหลักสูตรแม่บท ก็คือหลักสูตร 51 ปรับเปลี่ยนบริบทตรงนั้นเราก็ต้องมาดูบริบทของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะและในระบบของชุมชน โรงเรียนจะมีมุสลิม 100 เปอร์เซ็น การที่ว่าเราจะเอาหลักสูตรตรงนี้มา เราต้องคำนึงถึงในส่วนของชุมชนด้วย ก็คือหลักสูตรตรงนี้เราแทรกในส่วนของอิสลามเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นอีกส่วนหนึ่ง คือ ชุมชนของเราจะมีการแปรรูปอาหารก็เลยสามารถสอดแทรกของการสอนวิชาชีพ เด็กได้ศึกษาโดยเชิญบุคลากรจากท้องถิ่นมาให้ความรู้กับนักเรียน
คุณครูอานีซะ : เนื่องจากโรงเรียนบ้านเจาะเกาะได้ใช้หลักสูตรแกนกลาง 51 เป็นปีแรก หลักสูตรบ้านเจาะเกาะจึงมีชื่อว่า หลักสูตร ร.ร บ้านเจาะเกาะ พ.ศ 2553 เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงเริ่มที่วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในตรงนี้คือ เราได้สอบถามผู้ที่เกี่ยว ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยครู ผู้บริหารผู้ปกครอง นักเรียน พอเรารู้ถึงความเป็นมาความจำเป็นของการพัฒนาการหลักสูตรแล้ว ก็มาถึงกระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในวิสัยทัศน์ ว่า พ.ศ 2555 นักเรียนมีคุณธรรม นำความรู้ อยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก้าวไกล เทคโนโลยี มีสิทธิถ้วนหน้า ชุมชนศรัทธา พัฒนาตนเองไปตามศักยภาพสู่ความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกยึดมั่นในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรของโรงเรียน ขั้นตอนต่อไปก็คือกำหนดเนื้อหาประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้คุณครูร่างโครงสร้างรายวิชาและกำหนดผลการเรียนรู้ต่างๆ ต่อไปคือการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียนบ้านเจาะเกาะใช้มาเป็นภาคเรียนที่สองแล้ว ระหว่างนี้ก็มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรโดยผู้บริหารโดยส่วนหนึ่งก็คือการนิเทศโรงเรียน การประชุมย่อย การประชุมผู้นำฝ่ายบริหารหาข้อบกพร่องของหลักสูตรขั้นตอนต่อไปคือการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหลักสูตรดีขึ้น คิดว่าการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป


5.รุสลีนา :ในแต่ละชั้นปี มีรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอะไรบ้างที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียนและจุดเน้นของสถานศึกษาที่จัดรายวิชาเพิ่มเติมคืออะไร
คุณครูวิณา : รายวิชาเพิ่มเติมนั้นจะไม่มี แต่โรงเรียนจะมีการจัดระบบการเรียน 2 ระบบ และจะยึดหลักของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน ‘51


6.รุสลีนา : นอกจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ด้าน และสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ด้านแล้ว หลักสูตรสถานศึกษาได้เพิ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญเพิ่มเติมหรือไม่
คุณครูซุลกิฟลี : ไม่มี


7.รุสลีนา : โรงเรียนจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ อะไรบ้างที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
คุณครูวิณา: สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนโรงเรียนได้มีกิจกรรมในส่วนของการส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้เรียน ซึ่งสามารถแยกเป็นกิจกรรมในเรื่องของการยกระดับทางการเรียน การสอน กิจกรรมส่งเสริมวิชาการมีการแข่งขันทักษะทางวิชาการ และมีการนำนักเรียนไปเยี่ยมชมนิทรรศการทางวิชาการต่าง ๆ และนำความรู้ตรงนี้มาปรับลักษณะการเรียนการสอนของครูและนักเรียน อีกกิจกรรมหนึ่ง คือ กิจกรรมชุมนุมของโรงเรียน ซึ่งในตอนนี้ทางโรงเรียนยังอยู่ในช่วงของการลองใช้หลักสูตร ในส่วนชุมนุมของโรงเรียนก็จัดให้อยู่ในรูปของอิสลามอย่างเดียวแต่ในปีการศึกษาหน้าจะมีการจัดทั้งหมด เพื่อที่จะรองรับการแข่งขันทักษะทางวิชาการทางเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภาคเพื่อให้สอดคล้องกัน


8.รุสลีนา:หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมีกระบวนการประเมินผลอย่างไร
คุณครูวิณา: ตอนนี้ทางโรงเรียนได้ใช้หลักสูตรตัวนี้ก็จะประเมินผลเต็มรูปแบบไม่ได้ เรามีการประเมินในส่วนของหลักสูตรอันเก่า ว่ามันมีการสอดคล้องมากน้อยเพียงใดก็คือ จะประเมินผลในส่วนนี้และในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ อีกส่วนหนึ่งก็คือ ในส่วนผลสัมฤทธิ์จากเด็กตรงนี้เราต้องรอดูผลการประเมินผลปลายภาค เราถึงจะมาสรุปข้อมูลตรงนี้ได้


9.รุสลีนา : โรงเรียนมีมัธยม 1- 3 ในเมื่อใช้หลักสูตรร่วมกับประถม 1-6 มัธยมตอนต้นใช้หลักสูตรร่วมกับประถมมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง
ครูอานีซะ: อุปสรรคก็คือ เวลาเรียนเนื่องจากว่าประถมศึกษา 1-6 เราจัดเวลาเรียน 1000 ชั่วโมง/ปี มัธยมศึกษา1-3 นั้นเราจัดเป็นภาคเรียน เวลาเรียนต่อสัปดาห์นั้น ประถมศึกษา 1-6 เราจัด 30 ชั่วโมง/สัปดาห์ ก็หมายความว่าเวลาเรียน 6 ชั่วโมง/วัน สามัญแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระและอิสลามแบบเข้มก็แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระเช่นเดียวกัน ส่วนมัธยมศึกษาเราจัดเป็นรายภาคเรียน 1 สัปดาห์เราจัดเป็น 30 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในการจัดชั่วโมงนั้นมันจะมีปัญหาก็คือ เรื่องเวลาของการเข้าออกแต่ละชั่วโมงเช่น ระดับประถมศึกษาเวลาเข้าเรียนกับมัธยมศึกษาไม่เหมือนกันคือ เราจัด 1 คาบนั้นระดับประถมศึกษา 1 ชั่วโมงระดับมัธยมศึกษา 50 นาที/คาบ จะได้วันละ 7 คาบ
คุณครูวิณา: ตอนนี้ทางโรงเรียนได้ใช้หลักสูตรตัวนี้ก็จะประเมินผลเต็มรูปแบบไม่ได้ เรามีการประเมินในส่วนของหลักสูตรอันเก่า ว่ามันมีการสอดคล้องมากน้อยเพียงใดก็คือ จะประเมินผลในส่วนนี้และในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ อีกส่วนหนึ่งก็คือ ในส่วนผลสัมฤทธิ์จากเด็กตรงนี้เราต้องรอดูผลการประเมินผลปลายภาค เราถึงจะมาสรุปข้อมูลตรงนี้ได้


10. รุสลีนา :ในอนาคตพวกเราต้องเป็นคุณครูและอยากให้คุณครูช่วยให้ข้อคิดกับพวกเรา
คูณครูวิณา: ในการพัฒนาหลักสูตรในช่วงนี้ไม่ว่าจะปรับปรุงในสิ่งที่ว่ามันดีเลิศ ในช่วงเราปรับปรุงเราคิดว่าสิ่งแรกที่เราพัฒนาหลักสูตร เราต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆอย่างเช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและความต้องการของสังคมและชุมชน ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องดูว่านโยบายในส่วนกลางอย่างไรเราดูบริบทในส่วนนี้ด้วย ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อไปก็คือ ในส่วนการดำเนินงานของหลักสูตร อย่างแรกเราต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของสูตร ส่วนที่สอง การจัดเนื้อหาและประสบการณ์ซึ่งตรงนี้เราต้องให้สอดคล้องกับชุมชนและความต้องการของชุมชนด้วย และในส่วนของการนำหลักสูตรมาใช้และสุดท้ายการประเมินผลหลักสูตรต้องหาข้อสรุป แก้ไขข้อที่เป็นปัญหาและอุปสรรค ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเราจะเปลี่ยนแปลงในกลางคันไม่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรในครั้งต่อไป